3.เทคโนโลยีการสื่อสาร

องค์ประกอบของการสื่อสาร
องค์ประกอบของการสื่อสารข้อมูล มีอยู่ 5 อย่าง ได้แก่

ที่มา : http://comedu.nstru.ac.th/5581135030/images/q.png

    1. ผู้ส่ง (Sender) เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการส่งข่าวสาร (Message) เป็นต้นทางของการสื่อสารข้อมูลมีหน้าที่เตรียมสร้างข้อมูล เช่น ผู้พูด โทรทัศน์ กล้องวิดีโอ เป็นต้น 
    2. ผู้รับ (Receiver) เป็นปลายทางการสื่อสาร มีหน้าที่รับข้อมูลที่ส่งมาให้ เช่น ผู้ฟังเครื่องรับโทรทัศน์ เครื่องพิมพ์ เป็นต้น
    3. สื่อกลาง (Medium) หรือตัวกลาง เป็นเส้นทางการสื่อสารเพื่อนำข้อมูลจากต้นทางไปยังปลายทาง สื่อส่งข้อมูลอาจเป็นสายคู่บิดเกลียว สายโคแอกเชียล สายใยแก้วนำแสง หรือคลื่นที่ส่งผ่านทางอากาศ เช่น เลเซอร์ คลื่นไมโครเวฟ คลื่นวิทยุภาคพื้นดิน หรือคลื่นวิทยุผ่านดาวเทียม
    4. ข้อมูลข่าวสาร (Message) 
       ข้อมูลข่าวสาร (Message) คือสัญญาณอิเล็กทรอนิกส์ที่ส่งผ่านไปในระบบสื่อสาร ซึ่งอาจถูกเรียกว่า สารสนเทศ(Information) โดยแบ่งเป็น 5รูปแบบ ดังนี้
         4.1 ข้อความ (Text) 
         4.2 ตัวเลข (Number) 
         4.3 รูปภาพ (Images) 
         4.4 เสียง (Audio) 
         4.5 วิดีโอ (Video) 
    5. โปรโตคอล (Protocol) คือ วิธีการหรือกฎระเบียบที่ใช้ในการสื่อสารข้อมูลเพื่อให้ผู้รับและผู้ส่งสามารถเข้าใจกันหรือคุยกันรู้เรื่อง โดยทั้งสองฝั่งทั้งผู้รับและผู้ส่งได้ตกลงกันไว้ก่อนล่วงหน้าแล้ว ในคอมพิวเตอร์โปรโตคอลอยู่ในส่วนของซอฟต์แวร์ที่มีหน้าที่ทำให้การดำเนินงาน ในการสื่อสารข้อมูลเป็นไปตามโปรแกรมที่กำหนดไว้ ตัวอย่างเช่น TCP/IP เป็นต้น
ทิศทางการส่งข้อมูล(Transmission Mode)

ทิศทางการสื่อสาร 
ทิศทางการสื่อสาร แบ่งการสื่อสารข้อมูลตามทิศทางการส่งข้อมูล (Transmission Mode) ได้ 3 รูปแบบ ดังนี้
    1. การสื่อสารข้อมูลทิศทางเดียว (Simplex Transmission) เป็นการสื่อสารข้อมูลที่มีผู้ส่งข้อมูลทำหน้าที่ส่งแต่เพียงผู้เดียว และผู้รับทำหน้าที่ รับข้อมูลแต่เพียงอย่างเดียว เช่น การส่งอีเมล การใช้บริการรับฝากข้อความ ข้อดีคือ ไม่มีข้อจำกัดทางด้านเวลา แต่ผลเสียคือผู้รับข้อมูลอาจ ไม่ได้รับข้อมูลที่ส่งไป และผู้ส่งข้อมูลจะไม่ทราบว่าผู้รับได้รับหรือไม่ ตัวอย่างการสื่อสารข้อมูลทิศทางเดียว เช่น การฟังวิทยุ การดูโทรทัศน์ และการฟังเสียงประกาศ

ที่มา : https://sites.google.com/site/kannikaseungkuna/_/rsrc/1446477987062/home/TTE_49_3_b.png?height=284&width=400

    2. การสื่อสารข้อมูลสองทิศทางสลับกัน (Half-Duplex Transmission) เป็นการสื่อสารข้อมูลที่ผู้สื่อสารจะผลัดกันเป็นผู้รับและผู้ส่งข้อมูล โดยในขณะที่มีการสื่อสารข้อมูล ผู้รับข้อมูลจะต้องรอให้ผู้ส่งส่งข้อมูลเสร็จสิ้นก่อนจึงจะสามารถส่งข้อมูลได้ การสื่อสารข้อมูลประเภทนี้ นิยมใช้ในเฉพาะกลุ่ม ได้แก่วิทยุสื่อสาร (Radio Communication)


ที่มา : https://2.bp.blogspot.com/-eXhgTR6SCxE/V7pb6K0ysEI/AAAAAAAAAJg/awnON1G76pYVKViBVaMWDpr-WPJWYYM2QCLcB/s1600/tte_49_4_b.png

    3. การสื่อสารข้อมูลสองทิศทางพร้อมกัน (Full-Duplex Transmission) ผู้สื่อสารสามารถส่งข้อมูลโต้ตอบกันได้ทันทีโดยไม่ต้องรอให้ผู้ส่งข้อมูล เสร็จก่อน ตัวอย่างการสื่อสารข้อมูลสองทิศทางพร้อมกัน เช่น การคุยโทรศัพท์ การแชท


ที่มา : https://sites.google.com/site/kannikaseungkuna/_/rsrc/1446478113909/home/TTE_49_5_b.png?height=239&width=400

ชนิดของสัญญาณ
ชนิดของสัญญาณ
    สัญญาณข้อมูล(Data Signal) แบ่งเป็น 2 ประเภท ดังนี้
    1. สัญญาณแอนะล็อก (Analog Signal) มีลักษณะเป็นสัญญาณต่อเนื่องในรูปแบบคลื่น สามารถแทนลักษณะของสัญญาณได้ด้วยรูปกราฟคลื่นไซน์ (Sine Wave) ตัวอย่างของสัญญาณแอนะล็อก เช่น สัญญาณเสียงในสายโทรศัพท์และสัญญาณเสียงจากสถานีวิทยุ


ที่มา : https://choixxxkwanbaeseyo.files.wordpress.com/2015/08/analog.png

    2. สัญญาณดิจิทัล (Digital Signal) มีลักษณะเป็นสัญญาณไม่ต่อเนื่องในรูปแบบกราฟสี่เหลี่ยม (Square Graph) มีคุณภาพและแม่นยำกว่า สัญญาณแอนะล็อก


ที่มา : http://www.technologyuk.net/telecommunications/telecom-principles/images/digital_signal03.gif

การถ่ายโอนข้อมูล
การถ่ายโอนข้อมูล
    เป็นการส่งสัญญาณออกจากเครื่องและรับสัญญาณเข้าไปในเครื่อง การถ่ายโอนข้อมูลสามารถจัดจำแนกได้ 2 แบบ คือ การถ่ายโอนข้อมูลแบบขนานและการถ่ายโอนข้อมูลแบบอนุกรม
    1. การถ่ายโอนข้อมูลแบบขนาน ทำได้โดยการส่งข้อมูลออกมาทีละ 1 ไบต์ หรือ 8 บิต จากอุปกรณ์ส่งไปยังอุปกรณ์รับ ตัวกลางระหว่างสองเครื่องจึงต้องมีช่องทางให้ข้อมูลเดินทางอย่างน้อย 8 ช่องทาง เพื่อให้กระแสไฟฟ้าผ่านโดยมากจะเป็นสายสัญญาณแบบขนาน ระยะทางของสายสัญญาณแบบขนานระหว่างสองเครื่องไม่ควรยาวเกิน 100 ฟุต เพราะอาจทำให้เกิดปัญหาสัญญาณสูญหายไปกับความต้านทานของสาย นอกจากการส่งข้อมูลหลักแล้วอาจจะมีทางเดินของสัญญาณควบคุมอื่นๆ อีก เช่น บิตพาริตี ที่ใช้ในการตรวจสอบความผิดพลาดของการรับสัญญาณที่ปลายทางหรือสายที่ควบคุมการโต้ตอบ ( hand-shake)


ที่มา : https://web.ku.ac.th/schoolnet/snet1/hardware/ftp/ftp1.gif

    2. การถ่ายโอนข้อมูลแบบอนุกรม ข้อมูลจะถูกส่งออกมาทีละบิต ระหว่างจุดส่งและจุดรับ การส่งข้อมูลแบบนี้จะช้ากว่าแบบขนาน การถ่ายโอนข้อมูลแบบอนุกรมต้องการตัวกลางสำหรับการสื่อสารเพียงช่องเดียวหรือสายเพียงคู่เดียว ค่าใช้จ่ายจะถูกกว่าแบบขนานสำหรับการส่งระยะทางไปไกลๆ โดยเฉพาะเมื่อเรามีระบบสื่อสารทางโทรศัพท์ไว้ใช้งานอยู่แล้ว ย่อมจะเป็นการประหยัดกว่าที่จะทำการติดต่อสื่อสารทีละ 8 ช่อง เพื่อการถ่ายโอนข้อมูลแบบขนาน การถ่ายโอนข้อมูลแบบอนุกรมจะเริ่มโดยข้อมูลจากจุดส่งจะถูกเปลี่ยนให้เป็นสัญญาณอนุกรมเสียก่อน แล้วค่อยทยอยส่งออกทีละบิตไปยังจุดรับ และที่จุดรับจะต้องมีกลไกในการเปลี่ยนข้อมูลที่ส่งมาทีละบิต ให้เป็นสัญญาณแบบขนานซึ่งลงตัวพอดี เช่น บิตที่ 1 ลงที่บัสข้อมูลเส้นที่ 1


ที่มา : https://web.ku.ac.th/schoolnet/snet1/hardware/ftp/ftp2.gif